Trade War : สาเหตุของ สงครามการค้า
พื้นฐานความเข้าใจและความสำคัญของ “อุตสาหกรรม Chip”
“Silicon valley” เป็นพื้นที่ทางตอนใต้ของอ่าวซานฟรานซิสโก และเป็นคำที่ใช้เรียกแทนอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ของทั้งหมด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวเป็นที่ตั้ง (ที่รวมตัว) ของสำนักงานใหญ่ของบริษัทไอทีสหรัฐฯ หลายบริษัท ทำให้ Silicon valley กลายเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมของโลก โดยมีมูลค่าคิดเป็น 1 ใน 3 ของการร่วมลงทุนทั้งหมดของสหรัฐฯ (Venture Capital) แต่ทั้งนี้ สินค้าที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและโดดเด่น คือ “Chip”
Chip (แผนวงจรขนาดเล็ก) เป็นส่วนประกอบสำคัญของเทคโนโลยีต่างๆ Chip ถูกฝังอยู่ในทุกสิ่งทุกอย่างตั้งแต่โทรศัพท์ เครื่องซักผ้า รถยนต์ ไปจนถึงเครื่องบินรบ และพอนับรวมๆ กันแล้ว ตลาด Chip ในปี 2018 ที่ผ่านมา มีมูลค่าถึง 412,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งโตขึ้นจากปีก่อนหน้านั้นถึง 21.6% นั่นทำให้ Chip เป็นตัวแปรสำคัญทั้งในทางธุรกิจและการเมืองโลก
Chip สมัยใหม่มีส่วนประกอบนับพันล้านชิ้น และจำเป็นต้องใช้ “โรงงานระดับสูง” ซึ่งมีค่าใช้จ่ายหลักหมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แต่นั่นก็ได้สร้างห่วงโซ่อุปทานที่ซับซ้อนและกระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก สมาคมอุตสาหกรรม Semiconductor ประเมินว่า น่าจะมี Suppliers ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต Chip มากกว่า 16,000 ราย
การเมืองเรื่องของ Chip – สงครามการค้า ในมุมของอเมริกา
เหตุผลที่ทำให้อุตสาหกรรม Chip มีความสำคัญ คือ “ภูมิศาสตร์การเมือง” เป็นการแข่งขันระหว่างมหาอำนาจทางเทคโนโลยีอย่าง “อเมริกา” กับ “จีน” ซึ่งถือว่า “ตามหลัง” อยู่ โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ครอบครององค์ความรู้และมีศักยภาพในการผลิต Chip ที่มีคุณภาพสูงที่สุดในโลกได้ คือ “IBM” การเป็นเจ้าของ Chip คุณภาพสูง ย่อมหมายถึงกำลังในการประมวลผลที่สูงกว่าประเทศอื่นๆ
Chip นอกจากจะเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการผลิต Supercomputer แล้ว Chip ยังถือเป็น “สินทรัพย์เชิงกลุยุทธ์” สำหรับสหรัฐฯ โดยรายงานของทำเนียบขาวในปี 2018 มีการระบุไว้ชัดเจนว่า “เทคโนโลยี Semiconductor ที่ล้ำสมัยคือสิ่งสำคัญต่อระบบการป้องกันและความแข็งแกร่งทางการทหารของเรา” แน่นอนว่า Chip ที่ผลิตมาจาก Silicon Valley มีความได้เปรียบเรื่องต้นทุนและเทคโนโลยี เนื่องจากได้รับการอุปถัมภ์จาก Pentagon
การขยับของ “จีน” และการตอบโต้จาก “สหรัฐฯ”
จีนรู้ดีว่า Chip คือตัวแปรสำคัญและส่งผลต่ออนาคตของประเทศ นั่นจึงเป็นเหตุผลของการจัดตั้งกองทุนรวมการลงทุนอุตสาหกรรมวงจรรวมแห่งชาติ (China Integrated Circuit Industry Investment Fund) เพื่อเป็นแหล่งเงินทุนสำหรับการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม Chip โดยจีนตั้งเป้าจะยกระดับรายได้จากอุตสาหกรรม Chip จาก 60,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2016 สู่ระดับ 300,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2030
กองทุน Chip แห่งชาติของจีนมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ และเป็นหนึ่ง “หมาก” สำคัญของยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ซึ่งเป็นสิ่งที่สหรัฐฯ ไม่ได้รู้สึกยินดีนักที่กำลังจะมีคู่แข่งที่สูสีทางด้านเทคโนโลยีขึ้นมาเทียบชั้น นำไปสู่การสั่งห้ามไม่ให้ INTEL ขาย Chip ระดับ High-End ให้กับห้องแลปของจีน
ในส่วนนี้เราต้องเข้าใจว่า จีนต้องใช้ Supercomputer ในการประมวลผลเพื่อสร้างงานวิจัยคุณภาพสูงออกมา ซึ่ง Supercomputer ดังกล่าว จำเป็นต้องใช้ Chip ที่มีเทคโนโลยีระดับสูง และ Chip ที่ว่านั้น เป็นสิ่งที่บริษัทจีนยังไม่สามารถผลิตให้มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับ Chip ของบริษัท INTEL ได้ ดังนั้น การสั่งห้ามไม่ให้ขาย Chip ให้กับจีน เป็นการสะท้อนถึงการพยายามกีดกันทางเทคโนโลยีอย่างชัดเจน
เกมการแบนของ “สหรัฐฯ”
นอกจากการสั่งห้ามขาย Chip ของ INTEL ในปี 2015 แล้ว หลังจากนั้น สหรัฐฯ ก็เดินเกมในรูปแบบเดียวกันเรื่อยมา โดยเป็นตัวของ “ทรัมป์” เองที่ออกคำสั่งห้ามให้บริษัทสัญชาติอเมริกันขายส่วนประกอบให้กับ ZTE ซึ่งเป็นบริษัทผลิตสมาร์ทโฟนและอุปกรณ์โทรคมนาคมของจีน โดยอ้างถึงการที่ ZTE ละเมิด “ความร่วมมือการคว่ำบาตรอิหร่าน”
12 ตุลาคม 2018 สมาชิกวุฒิสภาสองคนออกมาเตือนประเทศแคนาดาว่าไม่ให้ Huawei ซึ่งเป็น บริษัท อิเล็กทรอนิกส์ของจีนรายใหญ่เข้ามามีส่วนร่วมในแผนการสร้างเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ 5G ซึ่งหลังจากเพียงสัปดาห์เดียว นิวซีแลนด์ก็ร่วมขบวน ทำการ “Reject” คำร้องขอของ “Spark New Zealand” ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือที่ต้องการใช้อุปกรณ์โทรคมนาคมของ Huawei
หลังจากนั้น 1 พฤศจิกายน ในปีเดียวกัน Fujian Jinhua Integrated Circuit บริษัทผลิต Chip สัญชาติจีน และบริษัทไต้หวันที่เป็นหุ้นส่วน United Microelectronics Corporation ก็ถูกอัยการสหรัฐ ส่งฟ้องในข้อกล่าวหา “ขโมยความลับทางการค้า” จากบริษัท Micron โดยได้มีการเตือนถึงความเสี่ยงของการใช้อุปกรณ์ที่ผลิตในประเทศจีน ซึ่งอาจเป็นช่องทางในการส่งข้อมูลกลับไปยังประเทศจีน
อ่านต่อตอนที่ 2 ได้ใน – มหากาพย์ “Chip War” หนึ่งในต้นเหตุ “สงครามการค้า” (ตอนที่ 2)
โดย นักวิเคราะห์ประจำ INFINOX Insight : ศศภัทร นาคะวัจนะ
คำเตือนความเสี่ยงและข้อจำกัดความรับผิด:
มุมมองหรือความคิดเห็นที่แสดงในบทความข้างต้นแสดงถึงมุมมองส่วนบุคคลหรือความคิดเห็นของผู้เขียนซึ่งไม่ได้เป็นตัวแทนของ Infinox Capital (“Infinox”) Infinox ไม่มีข้อผูกมัดหรือภาระผูกพันในการตรวจสอบหรือยืนยันความถูกต้องของผู้เขียนบทความและข้อมูลที่ให้ไว้ในบทความ Infinox จะไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดจากบทความดังกล่าว
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เป็น (และไม่ควรพิจารณาเป็น) คำแนะนำด้านการเงินการลงทุนหรือคำแนะนำอื่นใด Infinox ไม่ได้รับอนุญาตให้คำแนะนำการลงทุน ไม่มีความคิดเห็นใดในเนื้อหาที่ถือเป็นการแนะนำโดย Infinox หรือผู้เขียน ทั้งในเรื่องการลงทุน ความปลอดภัย การซื้อขายรวมถึงกลยุทธ์ใด ๆ สำหรับบุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยเฉพาะ
CFDs เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีเลเวอเรจจึงมีความเสี่ยงสูงต่อการสูญเสียเงินทุนอย่างรวดเร็ว 83.5% ของบัญชีนักลงทุนรายย่อยสูญเสียเงินทุนเมื่อซื้อขายผลิตภัณฑ์ CFDs กับ INFINOX โปรดแน่ใจว่าคุณมีความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ CFDs และสามารถรองรับความเสี่ยงต่อการสูญเสียเงินทุนได้

เปิดพอร์ต Forex, ทองคำ, ดัชนีหุ้น,
ลงทุนสินทรัพย์ทั่วโลก ไม่มีขีดจำกัด
เปิดบัญชี STP/ECN
เปิดบัญชี Demo
การซื้อขาย FOREX และ CFD มีความเสี่ยงที่สามารถทำให้สูญเสียเงินท
ฝากและถอน
หลากหลายช่องทาง