Bollinger Bands เป็นเครื่องมือที่ช่วยวัด Volatility ถ้าตลาดมี Volatility ต่ำ Bollinger Bands ก็จะถูกบีบแคบ และในทางตรงกันข้ามเมื่อตลาดมี Volatility สูง Bollinger Bands ก็จะขยายกว้างขึ้น ซึ่งเราสามารถมองเห็นเส้น Bollinger Bands ได้อย่างชัดเจน โดย Bollinger Bands จะมีเส้นด้านบนและเส้นด้านล่างเป็นหลัก ส่วนเส้นตรงกลางระหว่างเส้นบนและเส้นล่างจะเป็นเส้น 21 Moving Average (เป็นค่าเริ่มต้น)
Bollinger Bands สามารถใช้เป็นสัญญาณเตือนเมื่อตลาดเข้าสู่สถานะ Overbought (Bollinger Bands จะแคบ) และ Oversold (Bollinger Bands จะกว้าง)
Bollinger Bands กับมุมมองสถานการณ์ตลาด
♦ เมื่อ Bollinger Bands ถูกบีบแคบจะมีความเป็นไปได้สูงที่ตลาดจะเคลื่อนออกจากช่วงที่แคบนั้นแล้วเปลี่ยนเป็นเทรนด์ในอนาคตอันใกล้
♦ ในทางตรงกันข้าม เมื่อ Bollinger Bands ถูกขยายกว้างมาได้ระยะเวลาหนึ่ง ก็จะมีความเป็นไปได้สูงว่าตลาดจะหยุดเทรนด์และเริ่ม Sideway ในอนาคตอันใกล้
จากที่กล่าวไปแล้วเบื้องต้น ดูเหมือนว่า Bollinger Bands นั้นเหมาะที่จะนำมาใช้เพื่อวัด Volatility มากกว่าจะนำมาใช้เพื่อเป็นสัญญาณในการซื้อขาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตลาดอยู่ในช่วงที่่ Volatility ต่ำและ Bollinger Bands ถูกบีบให้แคบมาระยะหนึ่งแล้ว อนาคตอันใกล้ Volatility จะเพิ่มสูงขึ้นตามที่กล่าวไว้ข้างต้น
จากภาพชาร์ตด้านล่าง จะเห็นเส้น Bollinger Bands ทั้ง Upper และ Lower และเส้น 21 MA ซึ่งอยู่ตรงกลาง
ใช้ควบคู่กับ Technical Indicators อื่น ๆ
เวลาที่เราเห็นว่าราคานั้นถูกเหวี่ยงออกไปข้างนอกเส้น Bollinger Bands เทรดเดอร์ไม่ควรใช้ประเด็นนี้เป็นสัญญาณบอกว่าตลาดถึงจุดเปลี่ยนเพื่อที่จะทำการซื้อขายนะครับ เพราะเนื่องมาจาก Bollinger Bands ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อทำหน้าที่นี้ตามที่เขียนไว้แล้วข้างต้น
Bollinger Bands นั้นถูกออกแบบมาเพื่อให้ใช้ร่วมกับ Indicators ตัวอื่น ๆ เช่น Relative Strength Index (RSI) และ MACD
เพราะฉะนั้นก่อนที่จะนำ Indicators 2 ตัวข้างต้นมาใช้ร่วมกับ Bollinger Bands แนะนำว่าให้ทำ Backtest เสียก่อนนะครับ ซึ่งถ้าทำ Backtest แล้วจะเห็นว่ามีเสถียรภาพในการใช้งานพอสมควร